พระอัจฉริยภาพด้านต่างๆ ของในหลวงรัชกาลที่ 9
พระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนในทุกด้าน แสดงให้เห็นถึงการศึกษา และการเรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เยาวชน และประชาชน..
๑."พระอัจฉริยภาพด้านจิตรกรรม"
พระองค์ท่านทรงเชี่ยวชาญด้านจิตรกรรม ทรงเริ่มวาดภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ โดยเริ่มจากภาพวาดฝีพระหัตถ์เป็นแบบภาพเหมือน โดยทรงศึกษาและเขียนจากต้นแบบจริง ในระยะต่อมาทรงเริ่มวาดภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งแนว Realistic, Figurative, Abstraction, Semi-Abstraction และ Expressionism เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ ได้พระราชทานภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ร่วมแสดงในงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑๔ ซึ่งเป็นการแสดงนิทรรศการภาพฝีพระหัตถ์ครั้งแรกของพระองค์
๒."พระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายภาพ"
พระองค์ท่านทรงมีฝีพระหัตถ์เป็นเยี่ยมในด้านการช่าง ทั้งช่างไม้ ช่างโลหะ และช่างกล ซึ่งเป็นงานพื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ทรงสร้างมอเตอร์ไฟฟ้าใช้เอง ทรงสร้างเครื่องรับวิทยุร่วมกับพระเชษฐาธิราช ทรงประดิษฐ์เครื่องร่อนที่บินร่อนได้จริง ทรงจำลองเรือรบหลวงของไทยชื่อ “ศรีอยุธยา” นอกจากนี้ยังทรงมีความสามารถด้านการต่อเรือใบตามมาตรฐานสากล ทั้งประเภท Enterprise Class, OK Class และ Moth Class ทรงร่างแบบ คำนวณ ประกอบด้วยพระองค์เองทุกขั้นตอน
๓."พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี"
พระองค์ท่านได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ประจำปีพ.ศ.๒๕๒๙ ให้เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติ ทรงแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางดนตรีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยทรงได้รับการฝึกหัดดนตรีตั้งแต่พระชนมายุ ๑๐ พรรษา โดยเครื่องดนตรีสากลที่พระองค์ทรงดนตรีได้ มีทั้ง คลาริเนต, แซกโซโฟน, ทรัมเปต, เปียโน, กีตาร์ และไวโอลิน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงด้วยพระองค์เองมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๙ นับได้ ๔๘ เพลง ซึ่งล้วนเป็นบทเพลงที่ไพเราะ และมีความหมายดี
๔."พระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวรรณกรรม"
พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถโดดเด่นในด้านภาษา ทรงสื่อสารภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมันได้เป็นอย่างดี และทรงตระหนักว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกนิยมใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร จึงสนพระราชหฤทัยศึกษาภาษาอังกฤษ โดยทรงเข้าถึงพื้นฐานของภาษา และคุ้นเคยในการใช้ภาษานี้ถึงระดับดีเป็นพิเศษ แม้แต่ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาโบราณก็ทรงศึกษารอบรู้อย่างลึกซึ้ง และยังทรงสนพระราชหฤทัยในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักนิรุติศาสตร์ ทรงพระอักษรและทรงพระราชนิพนธ์แปลบทความหนังสือไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ (A Man Called Intrepid), ติโต (Tito), Buddhist Economics และทรงนำสาระบางตอนจากเรื่อง Smallis Beautiful มาประกอบพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก
๕."พระอัจฉริยภาพด้านการกีฬา"
พระองค์โปรดกีฬาต่างๆ เช่น เรือใบ แบดมินตัน สกีน้ำ และการออกกำลังพระวรกายด้วยการว่ายน้ำ ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงเรือใบ และเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ ได้ทรงเรือใบประเภท OK Class ที่ทรงต่อเองเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเรือใบระหว่างประเทศในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง โดยทรงชนะเลิศการแข่งขันครั้งนั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
รูปภาพ
เพลงพระราชนิพนธ์
เรื่องเล่าของ รัชกาลที่ 9
อ้างอิง : กระทรวงศึกษาธิการ http://www.moe.go.th/5DEC/index.php?option=com_content&view=category&id=3&Itemid=4